วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แผน การเปลี่ยนแปลงสาร

แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง การเปลี่ยนแปลของสาร เวลา 9 ชั่วโมง
แผนการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การเปลี่ยนแปลของสาร เวลา 2 ชั่วโมง
สาระสำคัญ
การเปลี่ยนแปลของสาร หมายถึง การที่สารมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับสมบัติทาง
การภาพของสาร เช่น การเปลี่ยนสถานะ การละลาย การมีรูปร่างเปลี่ยนแปลง หลังจากการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมียังคงเหมือนเดิม
ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
การระเหิดของลูกเหม็น ( ของแข็ง แก๊ส )
การระเหิดของน้ำ ( ของเหลว แก๊ส )
2. การเปลี่ยนแปลงทางเคมี หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี
มีสารใหม่เกิดขึ้น โดยสารใหม่ที่เกิดขึ้นจะมีองค์ประกอบและสมบัติทางเคมีแตกต่างไปจากเดิม
ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
โลหะโซเดียม ทำปฏิกิริยากับน้ำ ได้สารใหม่คือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ และ
แก๊สไฮโดรเจน
การเผาไหม้ของลูกเหม็น ได้สารใหม่เกิดขึ้นคือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
กรเกิดสนิทเหล็ก ได้สารใหม่เกิดขึ้นคือ ออกไซด์ของเหล็ก


จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนอธิบายคุณสมบัติของสารเกี่ยวกับจุดเดือด จุดหลอมเหลว และการละลายในตัวทำละลายต่าง ๆ
2. นักเรียนอธิบายการเกิดปฏิกิริยาเคมี และยกตัวอย่างผลของปฏิกิริยาเคมี
3. นักเรียนสมการเคมีแสดงการเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างโลหะกับออกซิเจน
สาระการเรียนรู้
การเปลี่ยนแปลของสาร
กิจกรรมการเรียนรู้
1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ครูเตรียมตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของสารทั้งที่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ซึ่งหากไม่มีของจริงอาจใช้ภาพแทนได้
2) ขั้นกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียน สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของเทียนไขเมื่อจุดเทียนไขทิ้งไว้ประมาณ 1 นาที แล้วร่วมแล้วกันอภิปรายถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นว่ามีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างมีสารใหม่เกิดขึ้น บางอย่างไม่มีสารใหม่เกิดขึ้น
2. ให้นักเรียนยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของสารที่พบในชีวิตประจำวัน โดยระบุด้วยว่าหลังการเปลี่ยนแปลง มีสิ่งใดบ้างที่แตกต่างจากเดิม เช่น
น้ำเดือด ไอน้ำเดือด ( เปลี่ยนสถานะ)
น้ำปูนใส + CO2 ตะกอนขาวขุ่นของหินปูน ( มีสารใหม่เกิดขึ้น)
3. ครูอภิปรายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นที่นักเรียนยกตัวอย่างมา โดยครูใช้คำถาม ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงที่นักเรียนแต่ละคนยกตัวอย่างมาเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างงไร
การเปลี่ยนแปลงชนิดใดบ้างที่มีสารใหม่เกิดขึ้น
ถ้านักเรียนจะจำแนกประเภทของสารเปลี่ยนแปลงจะจำแนกได้กี่ประเภท
4. ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเพื่อสรุปความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงของสารที่พบในชีวิตประจำวัน
3) ขั้นสรุป
1. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอความรู้เกี่ยวกับประเภทของการเปลี่ยนแปลงของสาร
2. ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเพื่อสรุปความรู้เกี่ยวกับประเภทของการเปลี่ยนแปลง ของสาร
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1) สื่อการเรียนรู้
(1) ใบงาน เรื่อง การเปลี่ยนแปลง ของสาร
(2) หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม. 1
2) แหล่งการเรียนรู้
(1) ห้องสมุด
(2) อินเตอร์เน็ต
การวัดและการประเมินผล
1) วิธีวัดและประเมินผล
(1) สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
(2) ประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม
(3) ตรวจใบงาน
(4) ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน
(5) ประเมินความรู้พื้นฐานรายบุคคลตามคะแนนการทำแบบทดสอบก่อนเรียน
2) เครื่องมือวัดและประเมินผล
(1) ใบงาน เรื่อง อวัยวะ การเปลี่ยนแปลง ของสาร
(2) แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน
(1) แบบประเมินความรู้พื้นฐานรายบุคคล
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
(1) แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล นักเรียนต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 จึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์
(2) ใบงาน นักเรียนจะต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 จึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์